PROJECT



แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
1.       โครงงานเรื่อง หนังตะลุง เมืองสตูล

2.      ชื่อผู้เสนอโครงงาน
      2.1 นางสาววราชินิ  แสงขาว เลขที่ 18
      2.2 นางสาวธัญพร  อรรคแสง เลขที่ 29
      2.3 นางสาวประภัสรา  สังข์ทอง เลขที่ 40

3.       ครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูโสภิตา สังฆะโณ , คุณครูคุณครูเชษฐา  เถาวัลย์

4.      หลักการและเหตุ
        หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยให้เป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการที่จะว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ
       แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป

 5. หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     5.1    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
     5.1.1  ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
     5.1.2  ความนิยมของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

5.2  หนังตะลุง
     5.2.1   ประวัติความเป็นมา
     5.2.2   ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง
     5.2.3   รูปหนังตะลุง
     5.2.4  
การแกะหนังตะลุง
     5.2.5  
เครื่องมือการแกะหนัง
     5.2.6   
องค์ประกอบในการแสดง
     5.2.7   
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
     5.2.8   คุณค่าและประโยชน์ของหนังตะลุง
     5.2.9   
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่

6.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
    6.1 เพื่อศึกษาหาความเป็นมาของหนังตะลุง
    6.2 เพื่อศึกษาวิธีการทำตัวหนังและการแสดงหนังตะลุง
    6.3 เพื่อศึกษาคุณค่าและประโยชน์ของหนังตะลุง
    6.4 เพื่อศึกษาการอยู่เคียงคู่ของรูปหนังตะลุงโบราณและรูปหนังตะลุงสมัยใหม่
    
7.ขอบเขตของโครงงาน
  7.1  รวบรวมข้อมูลและศึกษาความรู้เกี่ยวกับหนังตะลุง
7.2    รวบรวมเวลาของการดำเนินการ คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
7.3    แหล่งค้นคว้าข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียง คือ หนังสือ ห้องสมุด และอินเทอร์เน็ต

8.เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
     8.1. ใช้รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับหนังตะลุง   
     8.2  ใช้โปรแกรม E-book Desktop Auther ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
     8.3  ใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS2 และ PhotoScape ในการออกแบบรูปภาพ ตกแต่งรูปภาพ
           ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในการนำเสนอ
   
 9.ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
12 พฤศจิกายน 2555 
วราชินิ
เสนอโครงร่างโครงงาน
29 พฤศจิกายน 2555 - 24 มกราคม 2556
ธัญพร  ประภัสรา
ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล

25 มกราคม 2556 – 27 มกราคม 2556
ประภัสรา
วิเคราะห์ข้อมูล
10 ธันวาคม 2555 12 ธันวาคม 2555
วราชินิ  ธัญพร  ประภัสรา
ออกแบบเว็บไซต์

28 มกราคม 2556 -  26 กุมภาพันธ์ 2556
  ธัญพร  ประภัสรา
พัฒนาเว็บไซต์

28 มกราคม 2556 -  26 กุมภาพันธ์ 2556
วราชินิ  ธัญพร  ประภัสรา
ทดสอบและแก้ไขระบบ

28 มกราคม 2556 -  26 กุมภาพันธ์ 2556
ธัญพร  ประภัสรา
นำเสนอโครงงาน


1 มีนาคม 2556
วราชินิ
ประเมินผลโครงงาน




10.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ      
10.1   ทำให้รู้ถึงความเป็นมาของของหนังตะลุง
10.2   ทำให้รู้ถึงวิธีการทำตัวหนังและการแสดงหนังตะลุง
10.3   ทำให้รู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของหนังตะลุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น