วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

หนังตะลุง

หนังตะลุง    
   
        หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยให้เป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการที่จะว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ
       แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป
 

 

ชาว ต.อุไดเจริญ แสดง “หนังตะลุงคน” เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา


           ชาวบ้าน ต.อุไดเจริญ แสดง หนังตะลุงคนสะท้อนการดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะหนังตะลุงคนบ้านผัง 4 ต.อุไดเจริญ อ.ควนกาหลง จ.สตูล จัดแสดงหนังตะลุงคนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม นี้ โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ ต.อุไดเจริญ ร่วมแสดงละครสะท้อนชีวิตสังคม การดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ที่ทรงทำเพื่อประชาชน ถ่ายทอดสะท้อนผ่านตัวละครที่แสดงเป็นหนังตะลุง โดยมีประชาชนและนักเรียนรับชมที่บริเวณแหล่งน้ำสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมู่ที่ 9 ต.อุใดเจริญ อ.ควนกาหลง จ.สตูล เป็นจำนวนมาก
        สำหรับ หนังตะลุงคนดังกล่าว สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล กลุ่มชาวบ้านรักษ์วัฒนธรรม ต.อุไดเจริญ และกลุ่ม อสม.ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นมาเป็นที่แรก